Support
ชุงcctvservice
0825449009
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ความรู้เรื่องกล้องก่อนเลือกซื้อ

service@chungcctv.com | 16-09-2556 | เปิดดู 3506 | ความคิดเห็น 0

 

ทำความรู้จักระบบโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Cirecuit Telavision System :CCTV)

ระบบโทรทัศน์วงจรปิด หรือ CCTV System เป็นระบบส่งสัญญาณภาพจากตัวกล้องโทรทัศย์วงจรปิดที่ติดตั้งตามที่ต่างๆมายังระบบแสดงผลและบันทึกภาพ โดยทั่วไปจะติดอยู่คนละที่กับก้ลอง

ประโยชน์ การใช้งาน ระบบบโทรทัศน์วงจรปิด

  1. ในด้านการักษาความปลอดภัย ของบุคคลและสถานที่
  2. ในการตรวจสอบการทำงาน ของเครื่องจักร ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ทำด้วยระบบอัตโนมัติ หรือการทำงานของพนักงาน
  3. ใช้งานร่วมกับระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ เช่น ตรวจสอบจำนวนคนเพื่อการเปิดขปิดเครื่องปรับอากาศ ฯ
  4. ใช้งานร่วมกับระบบควบคุมการจราจร เช่น ตรวจสอบปริมาณรถยนต์

การเชื่อมต่อ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ระบบ Nerwork Camera ใช้การเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือ สาย LAN ที่ใช้ในการเชื่อมต่อโครงข่ายคอมพิวเตอร์ และ Internet  ที่มีอยู่แล้วได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว
  2. ระบบ Analog Camera ใช้การเชื่อมต่อผ่านสาย Coaxial Cable เพื่อใช้งานได้สะดวก ระบบกล้องวงจรปิดสามารถส่งข้อมูลผ่าน ระบบ Internet ได้ ซึ่งสามารถ รับชมภาพ จากที่ใดๆก็ได้ที่มีการเชื่อมต่อ Internet

อุปกรณ์ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่มดังนี้

ส่งสัญญาณ                                        

  • กล้องรับภาพ (CAMERA)
  • เลนส์ (LENS)
  • ขายึดกล้อง (BRACKET)
  • ชุดหุ้มกล้อง (HOUSING)
  • หัวก้มและส่าย (PAN/TILT)
  • หัวส่าย (SCANNER)

ต่อเชื่อมสัญญาณ

  • เครื่องสลับภาพ (SWITCHER)
  • เครื่องแบ่งสัญญาณภาพ (QUAD)
  • เครื่องแบ่งสัญญาณภาพ (MULTIPLEXER)
  • อุปกรณ์ควบคุม (CONTROL)

รับสัญญาณ

  • จอมอนิเตอร์ (MONITOR)
  • เครื่องบันทึกภาพ (RECORDER)

ลักษณะของตัวอุปกรณ์กล้องวงจรปิดและการทำงาน

กล้องรับภาพ (CAMERA)

              โดยทั่วไปแล้วจะถูกแบ่งง่ายๆ ออกเป็นสองชนิดคือ กล้องสีและกล้องขาวดำซึ่งขี้นอยู่กับตวามต้องการของปู้ใช้และสถานที่ในการ ติดตั้งซึ่งประกอยด้วยลักษณะของการใช้งานจริง

               กล้องสี ควรใช้งานกับสถานที่ที่มีแสงสม่ำเสมอ เช่น ซุปเปอร์มาเก็ต มินิมาร์ท ร้านทอง และอื่นๆอีกมากมาย เป็นต้นจากกลุ่มที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้นมีความ เหมาะสมกล่าวคือ กล้องสีสามารถแยกแยะรายละเอียดหรือสีของสิ่งของได้ดี และในสถานที่ที่ยกตัวอย่างดังกล่าวก็มีการใช้แสงสว่างค่อนข้างมาก และสม่ำเสมอภาพที่มาปรากฏบนหน้าจอมอนิเตอร์ ก็จะมีความชัดเจน

               กล้องขาวดำ กล้องขนิดนี้เป็นกล้องที่ใช้แสงในการรับภาพต่ำมาก (LUX) เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้งานด้านการรักษาความปลอดภัยเนื่องจาก สามารถดูในเวลากลางคืนได้ดีกว่ากล้องสีเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ในอาคาร ตลังสินค้า โรงงาน กระบวนการผลิต พื้นที่อันตรายเคาร์เตอร์เก็บเงิน ลานจอดรถ ปั๊มน้ำมัน หรือสถานที่ทีใช้อุปกรณ์ดูแลรักษาความปลอดภัย

 

หมายเหตุ ปัจจุบันกล้องวงจรปิดจะใช้แผนรับภาพแบบ CCD (Charge Couple Divice) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์ประเภทหนึ่ง ในกล้องวงจรปิดบางรุ่นจะไมมีหน่วยประมวลผลภาพ และหน่วยความจำ ซึ่งเรียกว่าส่วนประมวลผลภาพดิจอตอล (DSP : DIdital Image Signal Processing) ซึ่งจะทำให้กล้องวงจรปิดที่ไม่มีหน่วยประมวลผล DSP อยู่จะซีดจาง และความคมชัดลดลงเมื่อใช้งานผ่านไปช่วงหนึ่ง

เลนส์ (LENS) โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ชนิดดังนี้

                 เลนส์ แบบ NO IRIS  เป็นเลนส์ชนิดที่มีความสามรถในการใช้งานได้เพียงการปรับความคมชัด (FOCUS) ได้อย่างเดียว

                 เลนส์ แบบ MANUAL IRIS  เป็นเลนส์ที่มามารถปรับได้ทั้งความคมชัดและปรับแต่งความมืดสว่างของภาพได้ ตัวอย่างเช่น ในสถานที่ท่ีต้องการติดตั้งกล้องวงจรปิดแต่ในสถานที่ดังกล่าวมีแสงค่อนข้างมากแต่มีการเปลี่ยนแปลงความสว่างของแสงไม่มากและต้องการความคมชัดทั้งภาพก็สามารถใช้เลนส์ชนิดนี้เป็ฯตัวช่วยได้

                  เลนส์ แบบ AUTO IRIS เป็นเลนส์ชนิดที่สามารถปรับได้ทั้งความคมชัดและในส่วยของการปรับแสงเป็นการปรับอัตโนมัติโดยทำงานร่วมกับวงจรคอนโทรลภายในตัวกล้องซึ่งจะปรับหน้าเลนซ์ไปตามสภาวะของแสงในสถานที่ที่ทำการติดตั้งกล้อง

                  เลนส์ แบบ ZOOM เป็นเลนส์ที่ทีความสามารถดึงภาพในระยะไกลซึ่งเป็นการคอนโทรลการดึงภาพความคมชัดได้จากอุปกรณ์ควบคุมโดยการเดินสายจากตัวอุปกรณ์มายังตัวคอนโทรลซึ่งมีขนาดให้เลือกใช้ตามระยะที่ต้องการใช้จริง

 

หมายเหตุ   ปัจจุบันกล้องวงจรปิดบางชนิดสามารถปรับการรับและแสดงผล ขาวดำ/สี ตามสภาพ ความเข้มแสงบที่ได้รับในกรณีที่บริเวณ จุดติดตั้งมีสภาพแสงคงที่หรือเปลี่ยนแปลงน้อยสามารถ ใช้เลนส์ แบบ NO IRIS หรือ Manual IRIS ควบคู่กับระบบ Electronic Shuter ก็จะให้ผลได้ดี ใกล้เคียงกับการใช้เลนส์แบบ Auto IRIS

 

ขายึดกล้อง (BRACKET)

                   อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่จะต้องเลือกจัดหลังสุดหลังจากเมือ่จัดแล้วว่าใช้กล้อง เลนซ์ ชุดหุ้มกล้อง อุปกรณ์ส่ายหมุนชนิดใดขนาดเท่าใด มีน้ำหนักเท่าไหร่เพระาในการจัดอุปกรณ์ชนิดนี้จะต้องให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่จะต้องรับจากตัวอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่วมีขนาดของ การรับน้ำหนักและคุณลักษณธในการติดตั้งหลายแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้ติดตั้งผนัง (WALL MUONT) ติดเพดาน (CEILING MOUNT)

 

ชุดหุ้มกล้อง (HOUSING)

                   เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันตัวกล้องและตัวเลนส์ให้พ้นจากแสงแดดและน้ำแม้กระทั่งไอหมอก ซึ่งจะส่งผลในการยืดอายุการใช้งานของตัวกล้องและเลนส์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีประสิทธฺภาพ ซึ่งก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้และสถานที่ ที่ใช้เพราะมีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้ทั้งภายใน (INDOOR) แบะภายนอก (OUT DOOR) และมี ACCESSORIE ให้เลือกใช้มากมายไม่ว่าจะเป็นใบปัดหน้าชุดครอบอุปกรณ์หล่อเย๋็น ในกรณีทำการติดตั้งในที่ที่มีอุณภูมิสูงหรือจะเป็นชุดอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันการกระแทกได้ ซึ่งเหมาะสมกับสถานที่ที่มีการกระแทกสูงสุด เช่นเหมืองแร่ต่างๆ

 

หัวก้มและส่าย (PAN/TILT)

                    เป็นอุปกรณ์เสริม ซึ่งมีหน้าที่ของตัวอุปกรณ์คือเป็นตัว ส่าย หมุน ก้มเงย ซึ่งนิยมนำไปใช้ร่วมกับการใช้เลส์ ZOOM ก็จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด มีให้เลือกใช้ทั้ง ภายใน (IN DOOR) ภายนอก (OUT DOOR) ซึ่งจะค้องใช้ควบคู่กับชุดคงบคุมหรือชุดคอนโทรลเสมอโดยการเดินสาย จากอุปกรณืมายังชุดควบคุม

 

 หัวส่าย (scanner)

                     เป็นอุปกรณ์เสริมมีหน้าที่ของตัวอุปกรณ์คือ เป็นตัว ส่าย ซ็าย ขวา อุปกรณ์ชนิดนี้ไม่ค่อยนิยม ใช้มากนักเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ภายนอก (OUT DOOR) และอุปกรณ์ที่มีใช้ภายใน (IN DOOR) โดยส่วนใหญ่ก้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากนัก ยกเว้นอุปกรณ์ที่มาจากทางอเมริกาซึ่งก็มีราคาแพงจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม

 

 เครื่องสลับภาพ (SWITCHER)

                       ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสัญญาณจากตัวกล้อง แล้วส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์รับภาพ โดยจะทำหน้าทีสลับภาพให้ภาพจากตัวกล้องมาปรากฏบนหน้าจอทีละภาพตามลำดับเวลาที่สามารถกำหนดได้โดยทั่วไปตั้งแต่ 1-35 วินาทีและมีขนาดให้เลือก ใช้หลายขนาดคือ จะมี 4 6 8 12 16 ช่องรับสัญญาณ ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามจำนวนของกล้องที่จะใช้จริง

 

เครื่องแบ่งสัญญาณภาพควอร์ต (QUAD)

                       ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเหมือนกับเครื่องสัลบภาพแต่จะทำหน้าที่ต่างกันในขาออกคือภาพที่ได้จะปรากฏอยู่บนจอพร้อมกัน 4 ภาพ (หมายถึง QUAD 4 CH) ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า QUAD จะทำหน้าที่แบ่งสัญญาณบนหน้าจอภาพ ซึ่งข้อดีของอุปกรณ์ตัวนี้คือจะไม่เกิดช่องว่างของเวลา ในการสลับภาพเหมือนเครื่องสลับภาพ และในขณะเดียวกันถ้ามีการต่อพ่วงเข้ากับเครื่องบันทึกภาพก็จะได้ภาพทั้งหมดพร้อมกันในการบันทึกภาพ ซึ่งก็จะมี 2 ขนาดในการใช้คือ QUAD 4 CH, QUAD 8 CH (DUAL PAGE) ซึ่งจะแสดงความแตกต่างในการใช้งาน

 

เครื่องแบ่งสัญญาณภาพมัลติเพลกเซอร์ (MULTIPLEXER)

                      ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสัญญาณเหมือนกัยเครื่องสลับภาพและเครื่องแบ่งสัญญาณควอร์ด แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าคือสามารถแบ่งสัญญาณภาพบนจอได้ถึง 9 ส่วน หรือ 16 ส่วนหรือ 16 ส่วนนั้น หมายถึงรับสัญญาณจากกล้องได้ถึง 9 ตัวหรือ 16 ตัวนั้นเอง โดนหน้าที่พิเศษของตัวเครื่องแบ่งสัญาณภาพมัลติเพลกเซอร์นี้ก็คือในกรณีที่ทำการบันทึกภาพลงเนื้อเทป (ม้วน VDO) แล้วน้นซึ่งคือการบันทึกก็จะบันทึกภาพทั้ง 16 กล้อง ลงไปพร้อมๆกันซึ่งโดยปกติจากการบันทึกเทป เมื่อบันทึกไป 16 ส่วน ก็จะได้ภาพเป็น 16 ส่วนในกรณีที่มีการ PLAY BACK แต่ประสิทธิภาพของ MULTIPLEXXER สามารถที่จะดึงภาพใดภาพหนึ่งใน 16 ภาพขึ้นมาเป็นภาพใหญ่เต็มจอ (FULL SCREEN)  ได้จากเนื้อเทปที่ทำการบันทึกไว้แล้ว ความสามารถพิเศษของอุปกรณ์ตัวนี้อีกอย่างคือในเวลาที่มีการเข้าระบบบันทึกภาพและมีการควบคุมที่หน้าจอภาพโดยควบคุมให้ภาพขณะนั้นเป็นภาพจากกล้องใดกล้องหนึ่งแต่ในการบันทึกภาพก็จะได้ภาพทั้ง 16 กล้อง เช่นเดิม ซึ่งประโยชน์ก็คือก็จะได้ภาพทั้ง 16 กล้องโดยไม่ขาดตอนในการบันทึกแม้หน้าจอภาพจะถูกควบคุมไปแบบใดก็ตาม

 

จอภาพมอนิเตอร์ (Monitor)

                      ทำหน้าที่รับสัญญาณเพียงอย่างเดียว ซึ่งตัวแปรต่างๆ ของระบบจะขึ้นอยู่กับการเลือก ใช้อุปกรณ์ต่อเชื่อมสัญญาณ ว่าจะใช้อุปกรณ์ใด จอภาพมอนิเตอร์ก็จะปรากฎดังภาพดังนั้น ซึ่งโดยทั่วไปก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคคือ จอภาพสีและจอภาพขาวดำโดยมีขนาดให้เลือกหลายขนาดตามจุดประสงค์และความต้องการ

 

เครื่องบันทึกภาพ (RECORDER)

 

                       ทำหน้าที่รับสัญญาณภาพขาออกจากอุปกรณ์ต่อเชื่อมสัญญาณและทำการบันทึกภาพ โดยทั่วไปที่ใช้กัน จะใช้อยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ Digital และ ระบบ Analog

 

                  ระบบ Analog แบ่งเป็นดังนี้

 

                  ระบบ VHS หรือเครื่องเล่น VDO ที่ใช้ดูภาพยนต์กันอยู่ทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันเครื่องเล่น VDO ทั่วไปก็จะมีระบบ LONG PLAY ซึ่งในการบันทึกภาพด้วยระบบนี้สามารถช่วยยืดเวลาการบันทึกของเนื้อเทปที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถบันทึกได้เป็น 2 เท่าของ เนื้อเทปปกติคือ เมื่อเราใช้เทปขนาด E240 หรือ 4 ชั่วโมงแล้วบันทึกด้วยระบบ LONG PLAY ก็จะสามารถบันทึกภาพได้ถึง 8 ชั่วโมงโดยภาพแต่ละภาพจะห่างกันเพียง 0.03 วินาที

                  ระบบ TIME LAPSE ในกรณีที่ชั่วโมงการบันทึกภาพจากเครื่องเล่น VDO ดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบันทึกภาพก็คงจะหันมาใช้เครื่องบันทึกภาพชนิดนี้เพราะเครื่องบันทึกภาพชนิดนี้สามารถจะช่วยยืดเวลาในการบันทึกภาพโดยการใช้ม้วนเทป VDO ชนิดเดียวกันแต่สามารถเพิ่มเวลาในการบันทึกได้มากกว่าคือโดยทั่วไป จะมีตั้งแต่ 24 48 96 168 จนถึง 960 ชั่วโมงโดยใช้ม้วน VDO ขนาด E240 เพียงม้วนเดียว แต่เนื่องจากเราใช้เทป 4 ชั่วโมง บันทึกภาพตามเสปคของ TIME LAPSE ไม่ว่าจะมีจุดมุ่งหมายในการใช้เครื่องบันทึก 24 ชั่วโมงจนถึง 960 ชั่วโมงนั้น ภาพที่ได้จากคเรื่องบันทึก ภาพดังกล่าวที่ไม่เป็นธรรมชาตินักกล่าวคือจะได้ภาพการเคลื่อนไหวเป็นช่วงเป็นช่วง โดยแต่ละช่วงห่างกัน 0.16 วินาทีแต่ก็ถือได้ว่าภาพที่ได้เป็นภาพต่อเนื่อง (สเปคของ 24 ชั่วโมง) แต่ถ้าใช้เครืองบันทึกที่มีชั่วโมงใการบันทึกากๆช่นเครื่องบันทึกภาพ 960  ชั่วโมง ภาพในแต่ละภาพจะห่างกันถึง 6.40 วินาที ดังนั้นในการเลือกใช้ควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและดูจากผลที่ได้จากเครื่องบันทึกภาพด้วยว่าผู้ใช้เข้าใจและรับสเปคหรือผลที่ได้จากการทำงานของเครื่อง หรือไม่แต่ถึงอย่างไรก็ดีระบบนี้ก็เป็นที่นิยมในกามากกว่าระบบ VHS เพราะบันทึกได้ยาวนานกว่าจึงเหมาะกับงานด้านระบบรักษาความปลอดภัย

 

                     ระบ Digital แบ่งเป็นดังนี้

 

                     ระบบ DVR (Digital Video Recorder) เป็นการบันทึกข้อมูลลงในฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปซึ่ง DVR มีคุณภาพที่ดีกว่าการบันทึกลงในเทปเพราะสามารถบันทึกได้ยาวนานกว่าตามแต่ขนาดของฮาร์ดดิสก์และการตั้งค่าความละเอียดของภาพ (Set Resolution) ในการบันทึกนอกจากนี้เวลานำภาพกลัยมาดูภายหลังผู้ใช้สามารถกำหนด วัน เวลา ในการเรียกดูได้อย่าางรวดเร็วและสามารถตรวจดูอุปกรณ์ตรวจจับการบุกรุกในขณะที่ไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุได้ด้วยนอกจากนี้คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของระบบนี้ คือ สามารถติดต่อกับระบบ เครือข่ายเช่น LAN WAN PSTN ADSL และทำ Motion Detection ได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ประเภทเครื่องประมวลภาพเข้ามาช่วยในการทำงานอุปกรณ์นี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการบำรุงรักษาในภายหลังเพราะไม่ต้องซื้อม้วน VDO  และอายุการใช้งานของฮาร์ดดิสก์ก็ยาวนานกว่าม้วน VDO มาก

 

                   PC - BASE เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงานแล้วสามารถติดต่อเข้ากับระบบเครือข่ายเช่น LAN WAL PSTN ADSL  เป็นต้น ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลออกไปสามารถทำการ Remote เข้าสู่ระบบได้โดยที่เมื่อทำการบันทึกภาพข้อมูลที่บันทึกก็จะบันทึกลงในฮาร์ดิสของเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบ PC-BASE นี้จะมีเสถียรภาพในการใช้งานด้อยกว่าแบบ Stand Alone เพราะระบบ PC-BASE นี้ต้องอาศัยความสามารถของคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ที่จำเป็นต้องสนับสนุนกับตัวอุปกรณ์และมีสแปกของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สูงพอสมควร และที่สำคัญข้อมูลที่ได้จาคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถนำไปตกแต่งได้ด้วยทำให้ข้อมูลอาจผิดไปจากข้อมูลจริง เช่น เช่นภาพที่ได้อาจจะเป็นคนละภาพกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก็ได้ทำให้ระบบนี้ไม่เหมาะกับงานด้านระบบรักษาความปลอดภัย

 

                   Stand Alone เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพที่ทำการบันทึกลงในฮาร์ดดิส เช่นเดียวกับระบบ PC-BASE สามารถทำงานได้โดยลำพังหรือติดต่อเข้ากับระบบเครือข่ายก็ได้ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลออกไปสามารถ Remote เข้าสู่ระบบได้ระบบที่เป็นแบบ Stand Alone นี้จะมีเสถียรภาพมากว่า แบบ PC-BASE เพราะไม่ต้องพึ่งฮาร์ดแวร์และซอท์ฟแวร์จากคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการแบบเอนกประสงค์ซึ่งต่างจากระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งขนาดเล็ก มีความเร็วในการเรียกใช้งานที่สูงเพราะเก็บไว้ในหน่วยความจำชนิดพิเศษซึ่งจะไม่เกิดความเสียหายจากภายนอก เช่นไฟฟ้ากระชากไฟฟ้าดับ หรือ ไวรัส อีกทั้งโดยส่วนใหญ่แล้ว DVR มักจะมีฟังก์ชั่นการตรวจจับความเคลื่อนไหวรวมอยู่ด้วยระบบ Stand Alone มักจะใช้ฮาร์ดแวร์ในการทำงานฟังก์ชั่นนี้ทำให้การตรวจจับมีความมั่งคงแน่นอนและรวดเร็วกว่าข้อมูลที่ได้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เหมือนระบบ PC-BASE ที่บางครั้งข้อมูลภาพที่ได้อาจถูกตกแต่งขึ้นมาก็ได้ดังนั้นการทำงานของระบบนี้จึงเหมาะกับงาน ด้านระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า

 

หมายเหตุ  ปัจจุบันมีการพัฒนาการบันทึกผลลงในอุปกรณ์บันทึกผลข้อมูลที่เรียกว่าฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะทำให้สะดวกในการเก็บภาพ โดยไม่ใช้เทปเหมือนแต่ก่อน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มเติมความจุ หรืออจจะใช้ฮาร์ดดิสก์แบบถอดได้ (REMOABLE HARD DISK) ทำให้ สะดวกในการเก็บภาพ โดยข้อดีของการเก็บภาพแบบดิจิตอลมีหลายประการ

                  

  1. ไม่มีความจำเป็นต้องถอดเปลี่ยนเทปเหมือนเดิม
  2. สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วมากกว่า
  3. สามารถทำการโอนถ่ายข้อมูลภาพ ผ่านระบบเครือข่าย และนำมาแสดงผลโดยเครื่องพิมพ์ได้ทันที                

 

กล้องวงจรปิด ส่วนมากที่ใช้อยู่ปัจจุบันมี 2 ลักษณะ คือ

  1. ติดตั้งตาายตัว หรือ กล้องติดอยู่กับที่ (Fixed Camera) หมายถึง ตัวกล้องจะติดอยู่บนขากล้องหรืออื่นๆ ซึ่งไม่สามารถจะขยับ หรือเปลี่ยนทิศทางในการดูได้ ถ้าต้องการหมุนหรือเปลี่ยนทิศทาง ก็จะต้องถอดตัวกล้องแยกออกจากขากล้องจึงจะเปลี่ยนตำแหน่งได้  
  2. สามารถหมุนปรับทิศทางได้ (Moving Camera) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานระบบกล้องวงจรปิด จึงได้มีการเพิ่มอุปกรณ์ประกอบเข้าไป คือ ฐานกล้องหมุนปรับทิศได้ สามารถที่จะปรับให้หมุนซ้าย-ขวา ก้ม-เงย ได้ (Pan and Tilt unit) และอาจจะมีอุปกรณ์อื่นเพิ่มอีก เช่น เลนส์ปรับขนาดภาพได้ (Zoom Lens) และ เครื่องหุ้มกล้อง (Camera Housing) เป็นต้น      

การออกแบบติดตั้ง ระบบกล้องวงจรปิด (cctv)

              

             ระบบกล้องวงจรปิดเป็นระบบรักษาความปลอดภัย โดยการการใช้ระบบกล้องวงจรปิด ไปติดตามจุดหรือสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการที่จะจับตาดูการเคลื่อนไหวหรือป้องกัน การสูญเสียทรัพย์สิน โดยไม่สามารถหาตัวคนผิดได้เลย ในระบบกล้องวงจรปิด งานที่จัดทำจะอยู่เรื่องของงานระบบการเดินท่อร้อยสายไฟ และสายสัญญาณของกล้อง ซึ่งในงานระบบเดินสายสัญญาณ ยังแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ งานหลักคือ

 

  1. การเดินท่อร้อยสายไฟและสายสัญญาณภายในอาคาร  เป็นสัดส่วนของงานที่ต้องอาศัยความเรียบร้อยและความสวยงามเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพหน้างานในแต่ละส่วนของอาคาร เช่นในบางสถานที่จำเป็นต้องมีการร้อยท่อสายไฟและสายสัญญาณผ่านยังห้องทำงานหรือห้องประชุมใหญ่ ซึ่งอาจเก็บท่อร้อยสายไฟ อย่างมิดชิดหรือบางช่วงจะต้องทำงานโดยการร้อยท่อบนช่องฝ้า หรือติดตั้งท่อ EMT ตามผนังของอาคารหรือเพดานสูงๆ ซึ่งลักษณะการทำงานเช่นนี้ เรามีช่างทั้งผู้ชำนาญงานพร้อมทั้งผู้ออกแบบระบบ การเดินสายเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ อย่างเหมาะสม

  2. การเดินท่อร้อยสายไฟและสายสัญญาณบริเวณนอกอาคาร  ภายนอกอาคารก็เป็นงานที่ต้องการความสวยงามและความเรียบร้อยเป็นอย่างสูงเช่นกัน เพราะภายนอกอาคารจะมีผู้พบเห็นก่อนภายในอาคารแน่นอน การเดินท่อภายนอกอาคารจะมีการทำงานหลายๆลักษณะ เช่น บางสถานที่ต้องเดินสายจากอาคารหนึ่งไปยังอีกอาคารหนึ่งที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของถนน การทำงานลักษณะเช่นนี้ต้องมีการขุดเจาะถนนคอนกรีตเพื่อทำการฝั่งท่อสำหรับการเดินสายไปยังอาคารฝั่งตรงข้าม พร้อมทั้งต้องทำการเทคอนกรีตและปรัสภาพของถนนให้ใช้งานได้เหมือนเดิมและเรียบร้อยต่อสายตาของผู้พบเห็นมากที่สุด หรือ ในบางสถานที่ต้องเดินสายในที่สูง

          การทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV Camera)

 

          กล้องวงจรปิด (CCTV Camera)

               ทำหน้าที่แปลงวัญญาณภาพให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยมีอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งเป็นตัวรับภาพในอดีตใช้หลอดเป็นตัวรับภาพ หรือสร้างภาพ เรียกว่า หลอดวิดิคอน (Vidicon Tube) เริ่มตั้งแต่ขนาด 1 นิ้ว 2/3 นิ้ว และ 1/2 นิ้ว ต่อมาได้มีการพัฒนา เป็น แผ่นรับภาพ หรือ CCD (Charge Coupled Device) เริ่มตั้งแต่ ขนาด 2/3 นิ้ว 1/2 นิ้ว 1/3 นิ้ว 1/4 นิ้ว

 

 

 

 

                กล้องวงจรปิด มีทั้งขาว/ดำ (Monochrome) และสี (Color) ความสารถในการทำงาน หรือการใช้งานจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของงานตามแต่วัตถุประสงค์ในการเลือกใช้งาน เช่น ความไวแสง (Sensitivity) หมายถึง ปริมาณแสงน้อยที่สุดที่จะสามารถมองเห็นได้ กล้องวงจรปิดจะสามารถรับภาพได้จะต้องมีแสงส่องไปที่วัตถุนั้นและาะท้อนออกมาจากวัตถุนั้น กล้องแต่ละรุ่น แต่ละผู้ผลิตจะมีความไวแสงแตกต่างกัน เช่น กล้องตัวหนึ่ง ที่ 30 IRE F1.2 มีความไวแสงที่ 0.64 LUX แต่เมื่อไปเทียบที่ 50 IRE F1.2 จะมีความไวแสงเป็น 2. LUX เป็นต้น ความคมชัดของภาพ (Resolution) กล้องที่ใช้งานโดยทั่วไป จะมีความคมชัดของภาพที่ 330 เส้น สำหรับกล้องสี ที่ 380 เส้น สำหรับกล้องขาว/ดำ แต่การใช้งานในบางกรณีก็มีความจำเป็นที่ต้องการกล้อง ที่ให้รายละเอียดของภาพสูงกว่าปกติ ก็จะต้องเลือกใช้กล้อง ที่มีความคมชัดของภาพสูง (High Resolution) เช่น 580,700 เส้นสำหรับกล้องขาว/ดำ หรือกล้องสี

 

                             

               นอกจากนี้ ยังมีกล้องวงจรปิดแบบอื่อนๆ อีกที่สามารถจะเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการ เช่น กล้องโดม (Dome Camera) จะเป็นกล้องที่มีลักษณะภายนอก (ตัวกล้อง) เป็นรูปทรงกลม บางชนิด หมุนได้รอบตัว ก้ม-เงยได้ กำลังเป็นที่นิยมใช้งานในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้งภายในอาคาร โดยนำไปติดไว้กับฝ้า หรือผนังอาคาร ดูเรียบร้อยสวยงาม มีขนาดกะทัดรัด ไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ดูรกรุงรัง การติดตั้งง่าย และยังเป็นการพรางตา สำหรับคนทั่วไป ว่าที่นี่มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

 

               เครื่องเลือก/สลับภาพ(Video Switcher) และเครื่องรวม/ผสมภาพ (Multiple Screen Displays)

               ในระบบกล้องวงจรปิด ที่มีจำนวนกล้องมากว่า 1 กล้องแต่ต้องการให้แสดงภาพที่จอดูภาพเพียงจอเดียว ก็ต้องมีอุปกรณ์มาช่วยเลือกภาพ หรือลำดับภาพ ภาพจากกล้องแต่ละกล้องจะแสดงภาพที่จอภาพครั้งละหนึ่งภาพ ไปตามลำดับ ตามจำนวนกล้องที่เครื่องเลือกภาพ/สลับภาพ เช่น เครื่องเลือกภาพใช้กับกล้อง 8 กล้องที่จอภาพจะเริ่มจากก้ลองที่ 1 ไปจนถึงกล้องที่ 8 แล้วก็จะเริ่มใหม่

               เครื่องรวม/ผสมภาพ ชนิด 4 ภาพ เป็นอุปกรณืรวมภาพพร้อมกัน 4 ภาพ(จาก 4 กล้อง) ให้ไปรวมกันในจอเดียวกัน โดยที่จอดูภาพจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ภาพแต่ละภาพจะมีขนาดเล็กลง ภาพทุกภาพที่แสดงอยู่จะเป็นภาพจากกล้องซึ่งเป็ฯภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นจริง (Real Time Action) เครืองรวมภาพชนิด 4 ภาพนี้ บางรุ่นบางผู้ผลิต เมื่อนำไปต่อกับเครื่องบันทึกภาพ ขณะที่หน้าจอภาพแสดงภาพ 4 ภาพนั้นเมื่อเวลาเราเล่นย้อนหลัง (Play back) สามารถที่จะเลือกดูภาพจากกล้องใดกล้องหนึ่งได้ หรือจะดูแบบ 4 กล้องพร้อมกันก็ได้ ข้อเสียของเครื่อง DVR ชนิดรวมภาพ 4 ภาพ ก็คือ ภาพถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนนั้นจะมีรายละเอียดของภาพน้อยลง ตามขีดความสามารถหรือคุณภาพของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ภาพที่แสดงอยู่จะเป็นเส้นกระพริบยิบๆ(ทำให้ลำคาญตา)


               เครื่องรวม/ผสมภาพ (DVR) ชนิด 16ch เป็ฯอุปกรณ์ที่รวมภาพพร้อมกัน 16 ภาพ(จาก 16 กล้อง ) ไปรวมกันในจอภาพจอเดียวกัน โดยที่จอภาพจะถูกแบ่งเป็น 16 ส่วน ภาพทุกภาพที่แสดงอยู่ จะเป็นการแสดงภาพจากวงจรหน่วยความจำของเครื่อง การเปลี่ยนไปของแต่ละภาพ จะเปลี่ยนไปในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวช้าๆ ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง DVR 16 CH นี้บางรุ่นบางผู้ผลิตสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงการแสดงผลได้ หลายลักษณะ เช่น 16 ภาพ 12 ภาพ 9 ภาพ 4 ภาพ และภาพเล็กซ้อนอยู่ในภาพใหญ่ ในบางรุ่นบางผู้ผลิตหน้าจอดูภาพแสดง 16 ภาพหรือภาพอื่นๆที่ไม่ใช่ 16 ภาพเมื่อต่อเข้ากับเครื่องบบันทึกภาพ จะบันทึกทั้ง 16 ภาพ สามารถที่จะเล่นเทปย้อนหลังดูภาพจากกล้องแต่ละกล้อง หรือ 16 กล้องพร้อมกัน หรือในลักษณะอื่นได้ด้วย เรียกเครื่องรุ่นนี้ว่า Duplex Multiplexer แต่ในบางรุ่นบางผู้ผลิต  หน้าจอจะต้องแสดง 16 ภาพเมื่อต่อกับเครื่องบันทึก DVR ถ้าภาพเปลี่ยนไปในลักษณะอื่นที่ไม่ใช่ 16 ภาพ เครื่องบันทึกภาพจะบันทึกภาพตามหน้าจอภาพ และจะไม่สามารถเล่นดูภาพย้อนหลังได้ เรียกเครื่องรุ่นนี้ว่า Simplex Multiplexer ข้อเสีย การใช้เครื่องรวมภาพ ชนิด 16 ภาพจะต้องใช้จอดูภาพที่มีจอขนาดใหญ่มาก จึงจะสามารถมองเห็นภาพของแต่ละภาพได้ดี และภาพแต่ละภาพที่ถูกแบ่งให้ทีขนาดเล็กมากรายละเอียดของภาพจะมีน้อยและภาพที่แสดงอยู่จะเป็นเส้นกระพริบยิบๆ

 

    

ความคิดเห็น

วันที่: Mon May 06 00:29:17 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 

 

 โทร(ช่างชุง) : 082-544-9009 

 

กล้องวงจรปิด กล้องวงจรปิดยานนาวา สัมพันธวงศ์ พญาไท ธนบุรี บางกอกใหญ่ ห้วยขวาง คลองสาน ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางขุนเทียน ภาษีเจริญ หนองแขม ราษฎร์บูรณะ บางพลัด ดินแดง บึงกุ่ม สาทร บางซื่อ จตุจักร ประเวศ คลองเตย คลองเตย สวนหลวง จอมทอง ดอนเมือง ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา บางแค หลักสี่ สายไหม คันนายาว สะพานสูง วังทองหลาง คลองสามวา บางนา ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางบอน